วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเเต่งกายชุดนักเรียน

 การแต่งกายในชุดนักศึกษาอย่างถูกต้อง )
o  ความเหมาะสมตามหลักการแต่งกาย
- การแต่งกายถูกต้อง เพราะชุดนักศึกษากระโปรงต้องยาว ไม่สั้นไป และเสื้อไม่รัดสัดส่วนจนเกินไป
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าต่อบุคลิกภาพ  วัย  และผิว
- ความเหมาะสมดี เพราะแต่งตัวเรียบร้อยเข้ากับสถานะของตน และสถาบันศึกษา
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าสำหรับคนสูง  เตี้ย  และอ้วน
- ความเหมาะสมดี แต่งได้สมส่วน กระโปรงยาวถึงเข่า และเสื้อไม่รัดจนเกินไป
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าสำหรับคนหนักบน  หนักล่าง  และผอม
- รู้จักซื้อเสื้ออย่างเหมาะสมกับตนเอง ซึ่งสามารถใส่ได้อำพรางตัวเองได้ดี ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป และถูกกาลเทศะ
o  ความเหมาะสมของการเลือกใช้ผ้าที่เป็นริ้วและลาย
- เสื้อผ้าจะไม่มีลวดลาย เรียบๆ
o  ความเหมาะสมของการเลือกชนิดของคอเสื้อที่สวมใส่
- คอปกจะเป็นเสื้อของสถาบันศึกษา
( การแต่งกายชุดนักศึกษาที่ไม่เหมาะสม ) 
o  ความเหมาะสมตามหลักการแต่งกาย
- การแต่งตัวในชุดนักศึกษาต้องแต่งให้ถูกกาละเทศะ และให้เกียรติกับสถาบัน ซึ่งในรูปนี้จะเป็นรูปที่ไม่เหมาะสม แต่งตัวผิดกาละเทศะ
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าต่อบุคลิกภาพ  วัย  และผิว
ไม่เหมาะสมต่อบุคคลิกภาพ วัย และผิว เพราะเป็นการแต่งกายที่ไม่เรียบร้อย กระโปรงสั้น เอาเสื้อออกมานอกกระโปรง ซึ่งผู้หญิงควรจะแต่งตัวให้สุภาพจะได้ไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าสำหรับคนสูง  เตี้ย  และอ้วน
- จากในรูป ผู้ใส่จะใส่เสื้อที่รัดสัดส่วน กระโปรงสั้น ซึ่งแต่งตัวไม่สุภาพ
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าสำหรับคนหนักบน  หนักล่าง  และผอม
- จากในรูป คนใส่จะมีรูปร่างที่ผอม กระโปรงสั้น และเสื้อนักศึกษาก็รัดรูปมากไป
o  ความเหมาะสมของการเลือกใช้ผ้าที่เป็นริ้วและลาย
- เสื้อผ้าจะไม่มีลวดลาย เรียบๆ
o  ความเหมาะสมของการเลือกชนิดของคอเสื้อที่สวมใส่
- คอปกจะเป็นเสื้อของสถาบันศึกษา และในรูปคอปกของเสื้อจะดูลึกไป และคอกว้างมาก

(2)  สำรวจหรือสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่จะซ่อมแซมและดัดแปลงแก้ไข
-  บันทึกภาพเสื้อผ้า “ก่อน” และ “หลัง”  ซ่อมแซมและดัดแปลง


การซ่อมแซมเสื้อผ้า
- การซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด เป็นการแก้ไขดัดแปลงเสื้อผ้าให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้เช่น การซ่อมแซมตะเข็บ การซ่อมแซมปลายแขน ขอบขากางเกง ชายเสื้อและกระโปรง การซ่อมแซมเนื้อผ้าขาด การซ่อมแซมเครื่องตกแต่งต่างๆ เช่น ซิป ตะขอ กระดุม เป็นต้น
- การซ่อมแซมเสื้อผ้ามีความจำเป็นสำหรับครอบครัว เพราะเป็นการช่วยประหยัดรายจ่ายของครอบครัว และช่วยยืดเวลาให้สามารถสวมใส่เสื้อผ้าได้นาน เสื้อผ้าเมื่อใช้ไปนานๆ หลายครั้งอาจชำรุด และมีข้อบกพร่องในการสวมใส่ เช่น คับ หลวม ชำรุด ขาด ซึ่งส่วนที่ชำรุดบ่อย เช่นตะเข็บ ซิป ตะขอ เป็นต้น การตกแต่งเสื้อผ้าเป็นวิธีการที่ทำให้เสื้อผ้าเดิมดูแปลกใหม่ขึ้น สวยงามขึ้น
การตกแต่งเสื้อผ้ามีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. คำนึงถึงผู้ใช้ กล่าวคือ เมื่อซ่อมแซมหรือแก้ไขดัดแปลงเสื้อผ้าแล้ว ผู้ใช้ยินดีที่สวมใส่หรือไม่
2. คำนึงถึงสภาพวัสดุที่ต้องการดัดแปลงโดยพิจารณาว่าเสื้อผ้าเก่าหรือเสื้อผ้าชำรุดมีพอที่จะนำมาซ่อมแซมหรือแก้ไขดัดแปลงใหม่ตามที่ต้องการได้หรือ ไม่
3. คำนึงถึงค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณ เป็นการพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการซ่อมแซมหรือแก้ไขดัดแปลงแล้วจะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่
4. คำนึงถึงเวลา โดยพิจารณาว่าต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใดในการซ่อมแซม และเมื่อซ่อมแซมแล้ว สามารถใช้ต่อไปได้อีกนานหรือคุ้มค่ากับเวลาหรือ แรงงานที่เสียไปหรือไม่
การซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อ
    ในการซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อต้องคำนึงถึงความทนทานต่อการใช้งานบริเวณที่ทำการซ่อมแซมจะต้องเรียบและสวยงาม โดยให้มองเห็นผ้าส่วนที่ขาดน้อยที่สุด กระเป๋าเสื้อนักเรียนหรือเสื้อที่ใช้เรียนวิชาพลานามัยซึ่งนักเรียนสวมใส่ทุกสัปดาห์จะฉีกขาดได้ง่าย ก่อนการซ่อมแซมต้องพิจารณาว่าเป็นรอยขาดแบบใด ถ้ารอยตะเข็บด้ายเย็บขาดเพียงอย่างเดียว ก็ทำการซ่อมแซมได้ง่าย โดยการเย็บส่วนที่ขาดให้ติดกับตัวเสื้อ แต่ถ้าบริเวณที่กระเป๋าขาด เนื้อผ้าชำรุด หรือขาดหายไป จะต้องทำการปะชิ้นที่ขาดให้เรียนร้อยก่อนที่จะเย็บกระเป๋าให้ติดกับตัวเสื้อ ซึ่งมีวิธีการทำ ดังนี้
อุปกรณ์การปฏิบัติงาน1. ด้ายสีเดียวกับผ้าหรือใกล้เคียงกับผ้า
2. กรรไกรตัดผ้า
3. เข็มหมุด
4. ที่เลาะด้าย
5. ด้ายเนา
6. เศษผ้าที่มีสีใกล้เคียงกับสีเสื้อและควรมีขนาดใหญ่กว่ารอยด้าย
7. จักรเย็บผ้าในกรณีที่ซ่อมแซมด้วยจักร
      
ขั้นตอนการซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อ 1. ตัดเย็บผ้าเป็นรูปสีเหลี่ยมให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยขาดและกันลุ่ยริมโดยรอบ
2. ตัดเส้นด้ายบริเวณรอยขาดให้เรียบและเลาะเส้นด้ายหลุดลุ่ยที่ปากกระเป๋าให้เรียบร้อย
3. เนาเศษผ้าวางทาบด้านผิดและเนา ตามแนวริมที่ขาดและแนวริมเศษผ้าที่ปะ
4. เย็บด้านในที่ติดกับรอยลุ่ยโดยวิธีคัทเวิร์ค
5. ริมลุ่ย ควรสอยแบบดำน้ำถี่ๆ ตามรอยเนา
6. นำไปรีดให้เรียบ
7. ตลบปากกระเป๋า ทับรอยปะ และจัดผ้าให้เรียบ
8. กลับเข็มหมุดยึดปากกระเป๋าให้ติดกับตัวเสื้อและเนาตามรอยเนวเย็บเดิม
9. เย็บตามรอยเนาหรือแนวเส้นเดิม ถ้าเป็นการเย็บด้วยมือ ควรด้นถอยหลังให้ระยะห่างเท่าฝีเข็มของจักรที่เป็นรอยเย็บเดิม
10. เลาะด้ายเนาและตัดด้ายให้เรียบร้อยและรีดให้เรียบ

(3)  สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาดเสื้อผ้า  (เคล็ดลับ)  ตามหัวข้อต่อไปนี้ 
 -  การซักรีดเสื้อผ้า


การรีดผ้าโดยใช้เตารีด โดยทั่วไป มี ๒ วิธี คือ
1. การรีดทับ
ซึ่งเป็นวิธีการรีดโดยใช้เตารีดยกทับผ้าทีละส่วน วิธีการนี้จะทำให้ผ้าเรียบ เหมาะสำหรับผ้าที่พิถีพิถันและเสียรูปทรงได้ง่าย

2. การไถ
เป็นวิธีรีดผ้าโดยใช้มือไถไปมาส่วนบริเวณที่ต้องการรีด วิธีนี้จะทำให้รีดได้รวดเร็ว ถ้ารีดด้วยไฟแรงหรือรีดแรง ๆ พื้นผิวของผ้าอาจเสียหายหรือเกิดรอยตำหนิได้ หรือทำให้ผ้าเป็นมันเฉพาะส่วนที่เป็นรอยพับ เช่น ปลายแขน ชายกระโปรง เป็นต้น
 การรีดผ้าให้เรียบและมีอายุการใช้งานยาวนาน ควรยึดหลักการดังนี้
1. ในการรีดผ้า ควรรีดผ้าที่มีความชื้น จะทำให้ผ้าเรียบกว่าการรีดผ้าแห้ง เพราะความชื้นจะทำให้เส้นใยอ่อนตัว เมื่อถูกความร้อนจึงทำให้ผ้าเรียบ

2. เตรียมผ้าให้พร้อม เสื้อผ้าใดที่ต้องพรมน้ำก่อนการรีดให้พรมน้ำและม้วนไว้ เพื่อจะได้สะดวกในการรีด และไม่เสียเวลาขณะการรีดผ้า

3. เตรียมอุปกรณ์ในการรีดผ้าให้พร้อม เช่น ไม้แขวนสำหรับแขวนเสื้อที่รีดแล้ว ที่รองแขนเสื้อ กระบอกฉีดน้ำ สเปรย์เพิ่มความแข็งของผ้าเป็นต้น

4. เมื่อเสียบเตาไฟฟ้าใหม่ ๆ อุณหภูมิเตรีดยังไม่ร้อนมาก เราสามารถรีดผ้าบาง ๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ก่อนได้

5. อย่าวางเตารีดที่มีความร้อนทิ้งไว้บนผ้ารองรีด หรือบนเสื้อที่กำลังรีด เพราะจะทำให้ผ้าเกิดรอยไหม้ได้

6. ก่อนการรีดผ้าควรปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับชนิดของผ้า เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าลินิน ซึ่งมีเนื้อหนาปานกลางให้รีดด้วยความร้อนปานกลาง หรือผ้าใยสังเคราะห์ควรรีดด้วยความร้อนต่ำ เป็นต้น

7. ในการรีดผ้าสีควรรีดด้านในเพื่อป้องกันสีซีดหรือเก่าเร็ว ผ้าชนิดใดที่รีดด้านในแล้วผ้านั้นเรียบถึงด้านนอกก็ควรรีดด้านในจะทำให้เนื้อผ้าไม่สึกหรอ สีผ้าไม่ซีดเร็ว ผ้าบางชนิดเมื่อรีดด้านนอกบ่อย ๆความร้อนจากเตารีดจะทำให้เกิดความมันเป็นแนวตามรอยตะเข็บ มองดูแล้วไม่สวยงาม

8. ก่อนการรีดผ้าขนสัตว์ ผ้าสักราด หรือเสื้อที่ทำด้วยไหมพรม ควรใช้ผ้าขาวปิดทับ เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าสาลู ถ้าใช้เตาไฟฟ้าแบบธรรมดาที่ไม่ใช้เตารีดไอน้ำ ให้ชุบผ้าขาวที่บิดหมาดปิดทับด้านบนแล้วใช้เตารีด
ที่มีควมร้อนรีดโดยวิธีกดทับ ถ้ารีดโดยวิธีไถไปมาจะทำให้ผ้าเสียรูปทรง แต่ถ้าเป็นเตารีดไอน้ำให้ใช้ผ้าขาวปิดทับโดยไม่ต้องชุบน้ำ และเมื่อจะรีดให้พ่นไอน้ำผ่านน้ำจะทำให้ผ้าเรียบโดยไม่ต้องชุบน้ำ

9. เมื่อรีดผ้า ควรรีดส่วนประกอบทีละส่วนตามลำดับ

-  การทำความสะอาดรอยเปื้อนบนผ้า
1. คราบหมากฝรั่ง ใช้เพียงตู้เย็นเท่านั้น ให้เอาผ้าที่ติดหมากฝรั่งไปแช่ช่องแข็งไว้ เพื่อให้หมากฝรั่งแข็งตัวแล้วค่อยดึงออก เท่านี้คราบหมากฝรั่งก็จะจากไป
2. คราบเลือด เป็นคราบที่ซักยากมาก ฉะนั้นหากผ้าของเราเปื้อนเลือดขึ้นมาให้รีบแช่น้ำในทันทีจะช่วยให้ซักออกง่าย แต่ถ้าผ้านั้นถูกทิ้งไว้นานจนคราบเลือดแห้งติดผ้าและแทรกซึมไปตามเส้นใยของผ้าแล้วจะซักยากมาก ให้แช่ผ้าในน้ำที่ผสมเกลือ ใช้อัตราส่วนน้ำ 5 ลิตร ต่อเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ แช่ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงแล้วค่อยนำไปซักในน้ำยาซักผ้า ผงซักฟอกหรือสบู่ก็ได้ จนคราบเลือดหลุดหมด
3. คราบน้ำหอม สำหรับหนุ่ม ๆ สาว ๆ น้ำหอมมีมนต์เสน่ห์ติดตรึงใจ แต่ถ้าน้ำหอมเปื้อนเสื้อผ้าของเราแล้ว ให้รีบนำผ้าที่เปื้อนไปล้างออกด้วยน้ำเย็น ถ้ายังไม่ออกให้ใช้สำลีชุบน้ำมันสนเช็ดบริเวณที่เปื้อนแล้วนำมาซักใหม่อีกครั้ง
4. คราบช็อคโกแลต/กาแฟ ใช้กลีเซอรีน ( หาซื้อได้ตามร้ายขายยา )ทาทิ้งไว้บริเวณที่เปื้อน หลังจากนั้นจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่นกึ่งร้อนอีกครั้ง เพื่อละลายไขมัน คราบเปื้อนก็จะจางหายไป
5. คราบสนิม นำผ้ามาชุบน้ำให้เปียกก่อน หยดน้ำมะนาวตรงรอยเปื้อนสนิม แล้วนำมาซักด้วยวิธีธรรมดา

(4)  กิจกรรมบันทึกแนวคิดหน่วยที่  3  หัวข้อ:  นักเรียนจะนำความรู้เรื่องการทำความสะอาดเสื้อผ้าไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ?


     การศึกษาเรื่องการทำความสะอาดเสื้อผ้านั้น มีประโยชน์มากต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา ซึ่งเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชัวิตประจำวันได้หลายอย่าง เช่น การซักเสื้อผ้า ซึ่งเราก็ทำอยู่แล้ว และจากการศึกษาทำให้เราได้รู้ว่าเราต้องทำยังไงบ้างให้ถูกขั้นตอน แล้วผ้าที่เราซักก็จะสะอาด หรือจะเป็นการรีดเสื้อ เราก็สามารถทำได้เอง และการทำความสะอาดเสื้อผ้ารูปแบบอื่นๆ ซึ่งบางอย่างเราไม่รู้ ก็ได้ศึกษาและนำมาปฎิบัติตามคำแนะนำนั้นได้

 5)  ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้หน่วยที่  3  ผ้าและเครื่องแต่งกาย

 1. ผู้ที่จะแต่งกายได้งามนั้นมีอะไรที่เป็นพื้นฐานของการแต่งกาย  จงอธิบาย

 

   จะต้องมีรูปร่างที่สมส่วน ใส่เสื้อผ้าแล้วเหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงบุคลิกภาพของตนและต้องใส่ให้ถูกกาลเทศะด้วย

2.  หลักที่ควรยึดถือในการแต่งกายมีอะไรบ้าง  เขียนมาเป็นข้อ ๆ

- ลักษณะรูปร่างที่เด่น
- ควรรู้ข้อบกพร่องหรือส่วนที่ไม่สมส่วนในรูปทรงของเรา เพื่อที่จะได้แก้ไขโดยกลบหรือพรางส่วนนั้นเสีย
- ควรรู้ว่าตนเองมีบุคลิกลักษณะยังไง
- ควรรู้ว่าเสื้อผ้าสีอะไร ใช้อย่างไร จึงจะช่วยเสริมผิวพรรณและรูปร่างของผู้สวมใส่ให้งามขึ้น
- ควรสวมใส่เสื้อผ้าด้วยความประณีต
- ควรพิถีพิถันและประณีตให้มาก
- ควรรักษา ซ่อมแซมเสื้อผ้าให้ประณีตและสะอาดอยู่เสมอ
- ควรเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ
- การแต่งกายที่ยึดหลักประหยัด ควรมีเสื้อผ้าน้อยชุด แต่สามารถใช้ได้หลายงาน
- ควรหัดใช้เครื่องประดับตกแต่งประกอบ

3.  เปรียบเทียบศิลปะการแต่งกายที่เหมาะสมของบุคคลต่อไปนี้


•     คนอ้วนและคนผอม : คนอ้วนควรใส่เสื้อผ้าที่สีโทนมืดเพราะจะได้ปิดบังรูปร่างของตน คนผอมใส่เสื้อผ้าสีโทนสว่างเพื่อให้เราดูตัวใหญ่ขึ้น

•     คนผิวขาวและคนผิวคล้ำ : คนผิวขาวใส่เสื้อผ้าสีสดใส คนผิวเข้มไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีสด


•     คนรูปร่างเล็กและคนรูปร่างใหญ่ : คนรูปร่างใหญ่ใ่เสื้อผ้าลายทางยาว คนรูปร่างเล็กใส่เสื้อผ้าลายทางขวาง


4.  บรรยายรูปร่างลักษณะของนักเรียน  และอธิบายว่าถ้าจะใช้ผ้าเป็นริ้วเป็นลาย  จะใช้ริ้วลายแบบไหน

    ควรใช้ลายทางยาวหรือขวาง เพราะจะทำให้ตัวเองดูสูงขึ้น และใส่เสื้อที่ตัวใหญ่กว่าตัวเองนิดหน่อย เพราะสามารถบดบังความผอมของตัวเองได้ด้วย


5.  เครื่องเกาะเกี่ยวที่ใช้ในการตัดเย็บมีอะไรบ้าง  เสื้อผ้าที่นักเรียนใส่ส่วนใหญ่ต้องซ่อมแซมอะไรบ้าง

    เข็ม ด้าย กรรไกร เข็มกลัด ในการซ่อมแซมส่วนใหญ่จะซ่อมกระดุมที่หลุดออกมาจากเสื้อ


6.  อธิบายการติดกระดุมและติดตะขอมาให้เข้าใจ

กระดุมมีก้าน การติดกระดุมชนิดนี้ จะไม่มีเส้นด้ายเย็บปรากฏบนเม็ดกระดุม วิธีติดกระดุมมีก้านนิยมใช้
เศษผ้ารองใต้ผ้า ให้ตรงตำแหน่ง ก้านต้องทำเครื่องหมาย ดึงด้ายเย็บจนตึง เพราะจะทำให้เสื้อย่น  

มีขั้นตอนการติดดังนี้
1.วางกระดุมลงบนผ้าในตำแหน่งที่จะติดกระดุม สอดเข็มหมุดที่ห่วงก้านกระดุมเพื่อยึดไว้ชั่วคราว
2. แทงเข็มขึ้นด้านบนสอดเข้าไปในห่วงกระดุม แทงเข็มลงให้ทะลุผ้าด้านล่างดึงด้ายให้ตึงเอาเข็มหมุดออก
3.ทำแบบข้อ 2 ซ้ำประมาณ 3 – 4 ครั้ง พันก้านกระดุมด้วยด้าย 3 รอบ แทงเข็มลงใต้ชิ้นผ้าผูกปมให้แน่น ตัดด้ายออก

กระดุมไม่มีก้าน คือกระดุมที่มีรู 2 รู หรือ 4 รู ปรากฏให้เห็นบนเม็ดกระดุมการเย็บกระดุมชนิดนี้ จะ
มองเห็นเส้นด้ายที่เย็บ วิธีการเย็บกระดุมไม่มีก้านถ้าเป็นกระดุม 2 รู ให้ขมวดปลายหนึ่งของด้ายเย็บให้เป็น
ปม ทำเช่นเดียวกับเย็บกระดุม 2 รู หรืออาจแทงเข็ม ให้เส้นด้ายด้านบนทแยงไขว้กันก็ได้

มีขั้นตอนการทำดังนี้   1.กาเครื่องหมายตรงตำแหน่งที่ต้องการจะติดกระดุม
2.ใช้ด้าย 2 ทบ ร้อยเข็ม เพื่อให้กระดุมแน่นหนาไม่หลุดลุ่ยง่าย ขมวดปลายด้ายทำปม ใช้เข็มแทงขึ้น ตรงบริเวณที่ทำเครื่องหมายไว้ถึงด้ายให้แน่น
3.วางกระดุมลงตรงกลางแล้วสอดเข็มลอดรูกระดุม รั้งด้ายให้ตึง แทงขึ้นลงตามรูกระดุม กลับไป กลับมาหลายครั้งจนกระดุมแน่น
4.สอดด้ายใต้กระดุมซ่อนปมอีกครั้งแล้วตัดด้ายออก

กระดุมแป๊บ ทำด้วยโลหะผสม มีลักษณะต่างไปจากกระดุมธรรมดาคือประกอบด้วยฝาบน ซึ่งมีปุ่ม
นูนตรงกลาง และตัวรับซึ่งตรงกลางเป็นแอ่ง ต้องใช้คู่กันเสมอทำให้ประกบกันสนิท การติดกระดุมแป๊บ ถ้า
เป็นผ้าบางควรจะมีผ้าชิ้นเล็ก ๆ รองข้างในตรงตำแหน่งที่เย็บกระดุมเพื่อความคงทน ส่วนใหญ่ใช้กับ เสื้อสตรีสำหรับยึดสาบเสื้อ หรือขอบแขนให้ติดกัน มีขั้นตอนการติดดังนี้
1. วางกระดุมลงในตำแหน่งที่ต้องการ แป๊บตัวผู้วางบนสาบเสื้อชิ้นบน แป๊บตัวเมียวางบนสาบเสื้อชิ้นล่าง สนด้ายใส่เข็มขมวดปลายด้ายให้เป็นสองทบ
 2.แทงเข็มสอดขึ้นลงในรูกระดุมทีละรู รูละ 3 ครั้ง เมื่อจะเย็บรูต่อไปให้แทงเข็ม โดยซ่อนด้ายไว้ใต้ผ้า แล้วดึงเข็มขึ้น เมื่อเย็บครบ 4 รู้จึงผูกปมด้าย ทั้งแป๊บตัวผู้และตัวเมียมีวิธีการเย็บเหมือนกัน


7.  อธิบายการปะเพื่อการตกแต่ง

      การนำวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งมาเย็บลงไปโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เสื้อผ้าดูดีขึ้น และสามารถปกปิดรอยขาดหรือรอยเปื้อนที่ไม่สามารถซักออกได้ด้วย

8.  ถ้ากางเกงที่ใส่ขาดที่หัวเข่าจะแก้ไขดัดแปลงอย่างไรให้ใช้งานได้

นำผ้าที่มีลายหรือสีคล้ายๆกันมาปะตรงรอยขาดให้ดูสวยงาม


9.  ถ้านักเรียนดัดแปลงเสื้อผ้าที่ไม่ใช้เป็นผ้ากันเปื้อน  นักเรียนจะใช้ลวดลายและตะเข็บอะไรตกแต่งและมีวิธีทำอย่างไร

      ลวดลายที่ไม่ซ้ำใครเช่น ปักชื่อตัวเองลงไป หรือหาตุ๊กตาน่ารักๆมาเย็บตะเข็บกลับด้าน หันผ้ามาข้างนอกให้ดูแปลกตา
วิธีทำ : ก็นำผ้ามาตัดแปะให้เป็นชื่อตัวเอง แล้วเย็บตะเข็บเข้าไปที่ขอบผ้า


10.  อธิบายขั้นตอนการซักรีดเสื้อผ้า

- นำสิ่งของออกจากกระเป๋าให้หมด
- ถ้าพบว่าเสื้อผ้าชำรุด ควรซ่อมให้เรียบร้อยก่อนซัก
- แยกผ้าสีและผ้าขาวออกเป็นพวกๆ
- ซักด้วยน้ำเปล่าก่อน 1 ครั้ง
- ใส่ผงซักฟอกลงในอ่างหรือกะละมังประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วจึงใส่น้ำประมาณ 1 ขันใหญ่ต่อเสื้อ 1ตัว คนให้ผงซักฟอกละลายและกระจายไปทั่ว แล้วนำเสื้อลงแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ขณะเดียวกัน
ควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับตากผ้าไว้ให้เรียบร้อยจะทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น
- ขยี้หรือใช้แปรงๆที่คอเสื้อ แขนเสื้อ กระเป๋าและซักทั้งตัวให้สะอาด บีบน้ำออก แต่ไม่ควรบิดเพราะจะทำให้ผ้าขาดเร็วขึ้น
- ซักในน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง ให้หมดคราบผงซักฟอก
- นำขึ้นตากโดยกลับตะเข็บเสียก่อน แล้วใส่ไม้แขวนเสื้อ ถ้าเป็นเสื้อสี ให้แขวนไว้ในที่ร่มและลมพัดผ่านได้ดี
- ถ้าซักด้วยเครื่องครั้งหนึ่ง จะใช้น้ำประมาณ 150-250 ลิตร
- น้ำสุดท้ายของการซักสามารถนำไปเช็ดถูบ้าน หรือรดน้ำต้นไม้ใหญ่ได้



คำสำคัญ (keywords): ผ้า
สร้าง: 12 กรกฎาคม 2553 22:05 · แก้ไข: 12 กรกฎาคม 2553 22:48
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 2 · อ่าน: 3613 · สร้าง: ประมาณ 3 ปี

การเเต่งกาย

น.ส.ปัทมาภรณ์  เชิญขุนทด
ม.6 ห้อง 8  เลขที่ 25
โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม

คำว่า “ เครื่องแต่งกาย “ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องห่อหุ้มร่างกาย การแต่งกายของมนุษย์แต่ละเผ่าพันธุ์สามารถค้นคว้าได้จาก หลักฐานทางวรรณคดีและประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นเครื่องช่วยชี้นำให้รู้และเข้าใจถึงแนวทางการแต่งกาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคสมัยนั้น
การแต่งกายประจำภาคเหนือ
ภาคเหนือ

มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง

ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด) เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง)
การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป

ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือ

การแต่งกาย
เป็น สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
   1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
   2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ

   3.ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด

   4.ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน



การแต่งกายประจำภาคอีสาน


 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)
ภาษาภาคนี้สำเนียงคล้ายภาษาลาว ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นภาษา “อีสาน”
ภาษาอีสานเช่น เว้า (พูด) แซบ (อร่อย) เคียด (โกรธ) นำ (ด้วย)
การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม
ผ้าพื้นเมืองอีสาน
ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดู
การทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิง
ในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก
ทั้ง ลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
ประเพณี ที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน
เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม
กลุ่มอีสานใต้
คือ กลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว


การแต่งกายประจำภาคกลาง
 
ภาคกลาง


    ภาษาภาคกลาง  ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลางที่เป็นภาษาราชการ ยกเว้นคนบางกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน ชาวมอญ หรือชาวลาวพวน ซึ่งมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างออกไป
การแต่งกายภาคกลาง  การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า   ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว
ลักษณะการแต่งกาย

ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง
ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม



การแต่งกายประจำภาคใต้
 
ภาคใต้
ภาคใต้   มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วนๆ  สั้นๆ เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้”   ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวี หรือภาษามาเลเซีย
ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด)    หร๋อย (อร่อย) ทำไหร๋ (ทำอะไร) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม
การแต่งกายภาคใต้ ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย

ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
การแต่งกายของชาวใต้

มารยาทเด็กไทย

ระดับของวัฒนธรรมไทย

            การแบ่งประเภทของวัฒนธรรม อาจแบ่งตามแบบสากลเป็น 2 ประเภท คือ วัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ วัฒนธรรมทางจิตใจ แต่นักวิชาการวัฒนธรรมไทยได้แบ่งวัฒนธรรมไทยออกเป็น 3 ระดับ คือ
            1. วัฒนธรรมพื้นบ้าน หมายถึง วัฒนธรรมของประชาชนโดยทั่วไป ประชาชนหรือชาวบ้านกำหนดหรือสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมพื้นบ้าน ซึ่งเป็นสังคมย่อยในสังคมไทย มีการแบ่งวัฒนธรรมย่อยออกเป็นกลุ่มตามลักษณะที่ตั้ง ได้แก่ วัฒนธรรมล้านนา วัฒนธรรมอีสาน วัฒนธรรมอีสานใต้ วัฒนธรรมภาคกลางตอนบน วัฒนธรรมภาคกลาง วัฒนธรรมภาคใต้ตอนบน วัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง (5 จังหวัดชายแดนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม)
            นอกจากนั้นยังมีบางท่านแบ่งวัฒนธรรมพื้นบ้านตามประวัติความเป็นมาของกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น วัฒนธรรมไทยลาว วัฒนธรรมไทยมอญ วัฒนธรรมไทยเขมร วัฒนธรรมไทยอิสลาม วัฒนธรรมไทยคริสต์ และวัฒนธรรมไทยกะเหรี่ยง เป็นต้น
            2. วัฒนธรรมประจำชาติหมายถึง วัฒนธรรมที่รัฐกำหนดและมอบหมายให้คนไทยในชาติประพฤติปฏิบัติร่วมกัน เช่น ภาษาไทย ประกอบด้วยภาษาไทยกลาง ภาษาถิ่นต่างๆ (เหนือ ใต้ อีสาน ) ภาษาประจำชาติคือภาษาไทยกลางที่ใช้ในราชการ วัฒนธรรมประจำชาติ คือวัฒนธรรมร่วมของคนทุกหมู่เหล่า จึงเป็นผลงานการสร้างสรรค์และเผยแพร่วัฒนธรรมคือ ราชสำนักและวัด (วัด วัง)
            3. วัฒนธรรมสากลหรือวัฒนธรรมนานาชาติ หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมยอมรับกันทั่วไปอย่างกว้างขวาง อาจจะมีกำเนิดมาจากต่างประเทศหรือต่างทวีป วัฒนธรรมสากลหรืออารยธรรมที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกก็ว่าได้ เช่น การแต่งกายชุดสากล การเล่นดนตรี แนวคิดแบบมนุษยนิยม การค้าเสรี การปกครองแบบประชาธิปไตย การมีภรรยาเพียงคนเดียว ฯลฯ วัฒนธรรมที่เป็นสากลนี้ส่วนใหญ่จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางโลก       ตะวันตก ซึ่งเป็นซีกโลกที่เจริญด้วยวิทยาการและเทคโนโลยี ทั้งยังเคยขยายอิทธิพลมาครอบงำโลกตะวันออก รวมทั้งประเทศไทยจึงยอมรับวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาจากโลกตะวันตกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของตน ลักษณะเช่นนี้ทำให้วัฒนธรรมหลาย ๆ ด้านของโลกตะวันตกกลายเป็นวัฒนธรรมสากล
            วัฒนธรรมไทยได้รับการสร้างสรรค์จากบรรพบุรุษของคนไทยทั้งโดยตรงและโดยอ้อม คือการรับวัฒนธรรมจากภายนอกมาปรับใช้ในเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และค่านิยมของคนไทยจนในที่สุดวัฒนธรรมจากภายนอกเหล่านั้นก็กลายเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมไทย
            วัฒนธรรมไทยมีพัฒนาการต่อเนื่องมายาวนานจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจของคนไทย คือ
                        1)  มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงภูมิธรรมเป็นองค์ประมุข
                        2)  มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
                        3)  มีอักษรไทยและภาษาไทย
                        4)  มีประเพณีไทย
                        5)  มีวัฒนธรรมที่เป็นพื้นฐานการดำรงชีวิต
                        6)  มีศิลปกรรมไทย
                        7)  มีจรรยามารยาทและจิตใจแบบไทย
                        8)  มีการพักผ่อนหย่อนใจแบบไทย
                        9)  มีอาหารไทย
               ลักษณะเด่นเหล่านี้ เป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทยที่ไม่เหมือนใคร กล่าวคือ
                        1)  คนไทยจงรักภักดีและเทิดทูนพระมหากษัตริย์
                        2)  คนไทยรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะพระพุทธศาสนาไม่มีลักษณะบังคับเชื่อ และไม่เดียดฉันท์ความเชื่ออื่นหรือศาสนาอื่น
                        3)  อักษรไทยและภาษาไทย เป็นเอกลักษณ์ที่คนไทยภาคภูมิใจที่เรามีอักษรของเราเองใช้มาตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 19 (รัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)

                        4) ประเพณีไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนความกตัญญู ความสนุกสนานร่าเริง ฯลฯ
                        5)  วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิต อันได้แก่ปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย
                        6)  ศิลปกรรมไทย อันได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์ วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ ล้วนเป็นศิลปะที่เป็นที่สนใจยอมรับในหมู่คนต่างวัฒนธรรม และเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย
                        7)  จรรยามารยาทและจิตใจของคนไทยที่มีความสุภาพอ่อนโยน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ ให้อภัย ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นที่ชื่นชมของชาวต่างชาติต่างวัฒนธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สังคมน่ารู้

งามอย่างไทย ไหว้อย่างไทย

กราบสวัสดีพ่อแม่พี่น้อง ที่เคารพรักทุกท่านนะครับ วันนี้ชายน้อยขอนำพาพ่อแม่พี่น้องมารู้จักกับ กิริยามารยาทไทย งามอย่างไทย ไหว้อย่างไทยกันนะครับ อ๊าาาาาากกกกกก แอ๊บแบ๊วเป็นที่สุด รับตัวเองไม่ได้ ๕๕๕๕

ข้อความขั้นต้นก็เป็นการเกริ่นนำเข้าบทความที่จะกล่าวถึงในวันนี้แหละ ครับ ซึ่งไม่ได้เป็นคนเขียนเอง (อีกแล้ว - แต่ก็มีเสริมในส่วนที่ขาดล่ะนะ) แต่นำมาจากปฏิทิน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ของ
ธนาคารนครหลวงไทย ครับ เห็นว่ามีประโยชน์ดีเลยนำมาเผยแพร่ต่อครับ
การไหว้ ถือ ว่าเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทย ที่ตั้งแต่เรียนรู้ที่จะพูดได้ และเริ่มแกว่งไม้แกว่งมือได้ พ่อแม่ทุกคนก็จะต้องสอนลูกให้ยกมือไหว้ และกล่าวคำว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ กันก่อนเลย และก็มักจะหลอกล่อว่าให้ไหว้สวย ๆ สิคะ อะไรประมาณนี้ใช่ไหมครับ แต่จริง ๆ แล้ว เรารู้หรือเปล่า ว่าการไหว้แบบไทย ๆ ที่ว่าสวย ๆ นั้น เค้าต้องทำอย่างไร

สมัยผมเป็นเด็ก พอเข้าชั้นประถม ก็จะมีวิชาจริยธรรม ที่จะสอนการไหว้ที่ถูกต้อง ถูกธรรมเนียม พอขึ้นมัธยมก็มีการสอนกันอีกครั้ง เพื่อกันลืม จนจำไ้ด้ด้วยร่างกายว่า ไหว้พระ ไหว้ผู้ใหญ่ ไหว้คนอายุเท่ากัน และรับไหว้ ต้องทำอย่างไร แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ยอมรับว่ายังไหว้ถูกอยู่ แต่มือแข็งครับ ไม่ค่อยยกมือไหว้ และก็ชอบพูดสั้น ๆ ว่า "หวัดดีครับ" กลายเป็นนิสัยที่ไม่งามไปเสียแล้ว ซึ่งก็พยายามไม่ให้เผลอเรออยู่ครับ

และเป็นที่น่าสังเกตอยู่อย่างว่า เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยยกมือไหว้สวัสดี จริง ๆ นะ ถ้าเป็นคนแปลกหน้า ไม่รู้จักกันมาก่อน จะสวัสดีกันยากมาก ๆ ผมจะบอกเคล็ดลับอะไรให้นะครับ ถ้าอยากให้ผู้ใหญ่เอ็นดูล่ะก็ ต้องหัดมีสัมมาคารวะ มืออ่อน พูดจาไพเราะเข้าไว้ครับ ดีด้วยประการทั้งปวง สมัยผมจีบแฟน แล้วต้องเจอหน้าพ่อจอมเฮี๊ยบเนี่ย ยกมือไหว้ในระยะ ๑๐ ม. ก่อนเลยครับ ผมเรียกมันว่าเป็น
Key to success เลยนะครับ

เอาล่ะครับ ฝอยน้ำลายท่วมทุ่มไปเยอะแล้ว มาเข้าเรื่องวิธีการไหว้ที่ถูกวิธีกันดีกว่า
การไหว้
การประนมมือไหว้นั้น ฝ่ามือทั้งสองข้างจะต้องทาบทับกัน ปลายนิ้วทาบสนิทกัน ทำหลังมือให้โป่งออกเล็กน้อย ไม่้ต้องมากเป็นดอกบัวตูมและไม่แบนราบเป็นใบไม้นะครับ และในการยกมือขึ้นมาไว้ จะมีด้วยกัน ๓ ระดับ ขึ้นอยู่กับว่า ไหว้ใคร คือ

๑. ไหว้พระ ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ

 


 
๒. ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส เช่นเดียวกับการไหว้พระ แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว
 
 

 
๓. ไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ

 

 
การกราบพระ แบบ เบญจางคประดิษฐ์

 
การกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ เป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุด ต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด ซึ่งก็คือพระนั่นเอง เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ห้า โดย เบญจ ซึ่งแปลว่า ๕ นั้น หมายถึง อวัยวะทั้ง ๕ อันได้แก่ หน้าผาก มือทั้งสอง และเข่าทั้งสอง โดยอวัยวะที่ว่านั้น เวลากราบจะต้องจรดลงให้ติดกับพื้น ซึ่งท่านี้จะปฏิบัติแตกต่างกันใน หญิง และ ชาย

สำหรับชายนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้

ท่าเตรียม ท่าเตรียมของชายนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพบุตร
ท่าเทพบุตร นั่ง คุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้า ไม่นั่งบนเท้า แบบนั่งญี่ปุ่นนะครับ มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ส้นเท้าไม่แบะออก
 
จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
 
จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง
 
จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างต่อเข่า ขนานไปกับพื้น หลังไม่โก่ง หรือ ก้นไม่โด่งจนเกินงาม

 
การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง

 

 
สำหรับหญิงนั้น ให้ปฏิบัติ ดังนี้

 
ท่าเตรียม ท่าเตรียมของหญิงนั้น จะเรียกว่า ท่าเทพธิดา

 
ท่าเทพธิดา นั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้งสองข้าง นิ้วมือแนบชิดติดกัน ปลายเท้าไม่แบะออก

 
จังหวะที่ ๑: อัญชลี ยกมือขึ้นประนมมือระหว่างอก ปลายนิ้วชิด เบนออกจากตัวพอประมาณไม่กางศอก
 
จังหวะที่ ๒ : วันทา ยกมือขึ้น นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดกลางหน้าผาก พร้อมกับค้อมศีรษะลง

 
จังหวะที่ ๓ : อภิวาท ทอดมือลงกราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน ห่างกันเล็กน้อย พอให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือได้ โดยศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็กน้อย

 
การกราบจะกราบ ๓ ครั้ง เมื่อครบสามครั้ง ยกมือขึ้นจบ โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง
 

 

 
การไหว้พระ

 
ประนมมือ นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก

 
ชาย ยืนตรง ค้อมตัวลงต่ำ พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้

 
หญิง ยืนตรง ย่อเข่าลงให้ต่ำ โดยถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับประนมมือขึ้นไหว้

 

 
การประเคนของแด่พระสงฆ์

 
ชาย ใช้ สองมือถือของเดินเข่า เข้าไปในระยะหัตถบาส (ระยะที่มือพระท่านเอื้อมมือถึง) ยกของขึ้นประเคนในลักษณะมือต่อมือได้เลย (คือยกให้ท่านรับได้เลย) เมื่อประเคนเสร็จ จะไหว้หรือกราบก็ได้ แล้วแต่กาลเทศะ เสร็จแล้วถอยออกโดยวิธีเดินเข่า (ถอยออกนะครับ ไม่ใช่กันหลังขวับ แล้วเปิดแน่บ)

 

 
หญิง ใช้ สองมือถือของเดินเข่า เข้าไปในเช่นเดียวกับผู้ชาย ยกของขึ้นประเคนโดยวางบนผ้าที่พระสงฆ์ทอดออกมา เมื่อประเคนเสร็จ ปฏิบัติเช่นเดียวกับชาย
 
ที่อยากจะเตือนหน่อยนึง คือ เวลาเข้าวัดเข้าวา ก็แต่งกายให้มิชิดหน่อยนะครับ
 

 
 
 

 
 
การถวายความเคารพแบบสากล
 
ชาย ใช้ วิธีถวายคำนับ โดยค้อมลำตัวตั้งแต่ศีรษะถึงเอวลงให้ต่ำพอสมควร (ไม่ต้องก้มลงไปจนมองเห็นเข็มขัดตัวเองนะครับ แบบนั้นไม่สง่า) เสร็จแล้วยืนตัวตรงลักษณะเดิม

 
หญิง ใช้ วิธีถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว แบบสากลนิยม ยืนตัวตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลัง พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง ปล่อยแขนตรงแนบลำตัว สายตาทอดลง เสร็จแล้วยืนตัวตรงลักษณะเดิม
 
 

 
การหมอบกราบ

ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลงมาถึงพระ บรมวงศ์ในโอกาสเข้าเผ้าฯ ทั้งชายและหญิง ให้นั่งพับเีพียบเก็บปลายเท้า แล้วหมอบลงให้ศอกทั้งสองข้างถึงพื้น คร่อมเข่าี่ที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประสาน เรียกว่า หมอบเฝ้า เวลากราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือ ถ้าท่านทรงพระราชทานสิ่งของให้ ให้ยกมือขวาขึ้นเอางาน ในลักษณะเดียวกับการรับปริญญาบัตร คือยกมือขวาขึ้น ฝ่ามือตั้งฉากกับพื้น กระดกข้อมือขึ้นเล็กน้อย แล้วตวัดมือมาอยู่ในท่าเตรียมรับสิ่งของ โดยทำมือเป็นอุ้งเล็กน้อย เมื่อรบสิ่งของมาแล้ว ให้ประคองสิ่งของนั้นไว้ แล้วกราบอีกครั้งหนึ่ง แล้วกลับมานั่งในท่าหมอบเฝ้า แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบ หรือคลานถอยหลังออกไปจนพ้นที่ประทับ
 

 
การทูลเกล้าฯถวายของ

ของที่จะทูลเกล้าฯถวายนั้น ต้องเป็นของเบา และมีพานรองรับ โดยผู้ถวายใช้มือทั้งสองจับคอพาน ในกรณีของผู้ชาย ให้ถือพานถวายคำนับ เดินเข้าไปห่างจากที่ีประทับพอควร ลดพานลง ถวายคำนับ ย่อตัวก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า เข่าซ้ายจรดพื้น แล้วยกพานขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เมื่อพระองค์ทรงหยิบของออกจากพานแล้ว ให้ลุกขึ้น ดึงเท้าขวากลับมาชิดเท้าซ้าย ถวายคำนับ แล้วเดินถอยหลังจนพ้นที่ประทับ
 
 
 
 
สำหรับฝ่ายหญิง ให้ถือพานเช่นเดียวกัน แต่ในการถวายความเคารพ ให้ใช้การถอนสายบัวแบบสากลนิยม นอกนั้นปฏิบัติเหมือนฝ่ายชายทั้งหมด

 

 
การกราบผู้ใหญ่
 
ใช้กราบผู้อาวุโส หรือผู้มีพระคุณ ทั้งหญิงและชาย ให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า ทอดมือทั้งสองลงพร้อมกัน ให้แขนค่อมเข่้าที่อยู่ด้านล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือ กราบเพียงครั้งเดียว โดยไม่แบมือ เมื่อกราบเสร็จ ประสานมือดันตัวลุกขึ้นนั่งในท่าพับเพียบ

 
 
การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส
 
ประนมมือไหว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดหว่างคิ้ว
 
ชาย ยืนตรง ต้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้

 
หญิง ยืนตรง ถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้า่งหลัง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้

 
 
 
การไหว้บุคคลทั่วไป
 
ประนมมือไหว้ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก
 
ชาย ยืนตรง ต้อมตัวลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้

 
หญิง ยืนตรง ถอยเท้าข้างที่ถนัดไปข้า่งหลัง ย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมประนมมือขึ้นไหว้

 
 
 
การไหว้ผู้ที่เสมอกัน

 
ยืนตัวตรง ประนมมือ ให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ปลายคาง ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ทั้งชายและหญิง การไหว้จะไหว้พร้อม ๆ กัน
 

 

 
สำหรับมารยาทในการไหว้งาม ๆ ก็จบลงเพียงเท่านี้ มีแถมเรื่องอื่น ๆ ที่อาจจะได้ใช้บ้างเล็กน้อย ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เด็กไทยรุ่นใหม่ จะใส่ใจกับการไหว้กันมากขึ้นนะครับ ไหว้ให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น งามแท้แน่นอนครับ แต่ไหว้ผิด ๆ นี่ไม่งามจริง ๆ นะครับ เคยลองสังเกตกันดูหรือเปล่า

 
ความจริงแล้ว ที่ผมเขียนเรื่องนี้ ก็สืบเนื่องมาจากตอนที่ไปรับทุนที่มหาวิทยาลัยแหละครับ ผมไม่เห็นมีนักศึกษาคนใดเลยที่ไหว้ได้อย่างถูกต้องงดงาม ดู ๆ ไป ออกอาการเหมือนไก่จิกข้าวสาร คือผงกหัวหงึก ๆ ย่อตัวแบบเร็ว ๆ เหมือนเพลี๊ยกระโดด ไม่รู้จะรีบไปไหน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เด็กสาวที่ผมพูดถึงนี้ เธอได้ทุนวัฒนธรรมไทย อะไรสักอย่างนี่แหละครับ โอ้วพระเจ้า ถ้าผมเป็นอธิการบดี ผมสั่งงดทุนเดี๋ยวนั้น จนกว่าเธอจะไหว้ได้ถูกต้องเลยล่ะ