วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเเต่งกายชุดนักเรียน

 การแต่งกายในชุดนักศึกษาอย่างถูกต้อง )
o  ความเหมาะสมตามหลักการแต่งกาย
- การแต่งกายถูกต้อง เพราะชุดนักศึกษากระโปรงต้องยาว ไม่สั้นไป และเสื้อไม่รัดสัดส่วนจนเกินไป
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าต่อบุคลิกภาพ  วัย  และผิว
- ความเหมาะสมดี เพราะแต่งตัวเรียบร้อยเข้ากับสถานะของตน และสถาบันศึกษา
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าสำหรับคนสูง  เตี้ย  และอ้วน
- ความเหมาะสมดี แต่งได้สมส่วน กระโปรงยาวถึงเข่า และเสื้อไม่รัดจนเกินไป
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าสำหรับคนหนักบน  หนักล่าง  และผอม
- รู้จักซื้อเสื้ออย่างเหมาะสมกับตนเอง ซึ่งสามารถใส่ได้อำพรางตัวเองได้ดี ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป และถูกกาลเทศะ
o  ความเหมาะสมของการเลือกใช้ผ้าที่เป็นริ้วและลาย
- เสื้อผ้าจะไม่มีลวดลาย เรียบๆ
o  ความเหมาะสมของการเลือกชนิดของคอเสื้อที่สวมใส่
- คอปกจะเป็นเสื้อของสถาบันศึกษา
( การแต่งกายชุดนักศึกษาที่ไม่เหมาะสม ) 
o  ความเหมาะสมตามหลักการแต่งกาย
- การแต่งตัวในชุดนักศึกษาต้องแต่งให้ถูกกาละเทศะ และให้เกียรติกับสถาบัน ซึ่งในรูปนี้จะเป็นรูปที่ไม่เหมาะสม แต่งตัวผิดกาละเทศะ
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าต่อบุคลิกภาพ  วัย  และผิว
ไม่เหมาะสมต่อบุคคลิกภาพ วัย และผิว เพราะเป็นการแต่งกายที่ไม่เรียบร้อย กระโปรงสั้น เอาเสื้อออกมานอกกระโปรง ซึ่งผู้หญิงควรจะแต่งตัวให้สุภาพจะได้ไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าสำหรับคนสูง  เตี้ย  และอ้วน
- จากในรูป ผู้ใส่จะใส่เสื้อที่รัดสัดส่วน กระโปรงสั้น ซึ่งแต่งตัวไม่สุภาพ
o  ความเหมาะสมของเสื้อผ้าสำหรับคนหนักบน  หนักล่าง  และผอม
- จากในรูป คนใส่จะมีรูปร่างที่ผอม กระโปรงสั้น และเสื้อนักศึกษาก็รัดรูปมากไป
o  ความเหมาะสมของการเลือกใช้ผ้าที่เป็นริ้วและลาย
- เสื้อผ้าจะไม่มีลวดลาย เรียบๆ
o  ความเหมาะสมของการเลือกชนิดของคอเสื้อที่สวมใส่
- คอปกจะเป็นเสื้อของสถาบันศึกษา และในรูปคอปกของเสื้อจะดูลึกไป และคอกว้างมาก

(2)  สำรวจหรือสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่จะซ่อมแซมและดัดแปลงแก้ไข
-  บันทึกภาพเสื้อผ้า “ก่อน” และ “หลัง”  ซ่อมแซมและดัดแปลง


การซ่อมแซมเสื้อผ้า
- การซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด เป็นการแก้ไขดัดแปลงเสื้อผ้าให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้เช่น การซ่อมแซมตะเข็บ การซ่อมแซมปลายแขน ขอบขากางเกง ชายเสื้อและกระโปรง การซ่อมแซมเนื้อผ้าขาด การซ่อมแซมเครื่องตกแต่งต่างๆ เช่น ซิป ตะขอ กระดุม เป็นต้น
- การซ่อมแซมเสื้อผ้ามีความจำเป็นสำหรับครอบครัว เพราะเป็นการช่วยประหยัดรายจ่ายของครอบครัว และช่วยยืดเวลาให้สามารถสวมใส่เสื้อผ้าได้นาน เสื้อผ้าเมื่อใช้ไปนานๆ หลายครั้งอาจชำรุด และมีข้อบกพร่องในการสวมใส่ เช่น คับ หลวม ชำรุด ขาด ซึ่งส่วนที่ชำรุดบ่อย เช่นตะเข็บ ซิป ตะขอ เป็นต้น การตกแต่งเสื้อผ้าเป็นวิธีการที่ทำให้เสื้อผ้าเดิมดูแปลกใหม่ขึ้น สวยงามขึ้น
การตกแต่งเสื้อผ้ามีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. คำนึงถึงผู้ใช้ กล่าวคือ เมื่อซ่อมแซมหรือแก้ไขดัดแปลงเสื้อผ้าแล้ว ผู้ใช้ยินดีที่สวมใส่หรือไม่
2. คำนึงถึงสภาพวัสดุที่ต้องการดัดแปลงโดยพิจารณาว่าเสื้อผ้าเก่าหรือเสื้อผ้าชำรุดมีพอที่จะนำมาซ่อมแซมหรือแก้ไขดัดแปลงใหม่ตามที่ต้องการได้หรือ ไม่
3. คำนึงถึงค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณ เป็นการพิจารณาว่าเมื่อดำเนินการซ่อมแซมหรือแก้ไขดัดแปลงแล้วจะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่
4. คำนึงถึงเวลา โดยพิจารณาว่าต้องใช้เวลามากน้อยเพียงใดในการซ่อมแซม และเมื่อซ่อมแซมแล้ว สามารถใช้ต่อไปได้อีกนานหรือคุ้มค่ากับเวลาหรือ แรงงานที่เสียไปหรือไม่
การซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อ
    ในการซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อต้องคำนึงถึงความทนทานต่อการใช้งานบริเวณที่ทำการซ่อมแซมจะต้องเรียบและสวยงาม โดยให้มองเห็นผ้าส่วนที่ขาดน้อยที่สุด กระเป๋าเสื้อนักเรียนหรือเสื้อที่ใช้เรียนวิชาพลานามัยซึ่งนักเรียนสวมใส่ทุกสัปดาห์จะฉีกขาดได้ง่าย ก่อนการซ่อมแซมต้องพิจารณาว่าเป็นรอยขาดแบบใด ถ้ารอยตะเข็บด้ายเย็บขาดเพียงอย่างเดียว ก็ทำการซ่อมแซมได้ง่าย โดยการเย็บส่วนที่ขาดให้ติดกับตัวเสื้อ แต่ถ้าบริเวณที่กระเป๋าขาด เนื้อผ้าชำรุด หรือขาดหายไป จะต้องทำการปะชิ้นที่ขาดให้เรียนร้อยก่อนที่จะเย็บกระเป๋าให้ติดกับตัวเสื้อ ซึ่งมีวิธีการทำ ดังนี้
อุปกรณ์การปฏิบัติงาน1. ด้ายสีเดียวกับผ้าหรือใกล้เคียงกับผ้า
2. กรรไกรตัดผ้า
3. เข็มหมุด
4. ที่เลาะด้าย
5. ด้ายเนา
6. เศษผ้าที่มีสีใกล้เคียงกับสีเสื้อและควรมีขนาดใหญ่กว่ารอยด้าย
7. จักรเย็บผ้าในกรณีที่ซ่อมแซมด้วยจักร
      
ขั้นตอนการซ่อมแซมกระเป๋าเสื้อ 1. ตัดเย็บผ้าเป็นรูปสีเหลี่ยมให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยขาดและกันลุ่ยริมโดยรอบ
2. ตัดเส้นด้ายบริเวณรอยขาดให้เรียบและเลาะเส้นด้ายหลุดลุ่ยที่ปากกระเป๋าให้เรียบร้อย
3. เนาเศษผ้าวางทาบด้านผิดและเนา ตามแนวริมที่ขาดและแนวริมเศษผ้าที่ปะ
4. เย็บด้านในที่ติดกับรอยลุ่ยโดยวิธีคัทเวิร์ค
5. ริมลุ่ย ควรสอยแบบดำน้ำถี่ๆ ตามรอยเนา
6. นำไปรีดให้เรียบ
7. ตลบปากกระเป๋า ทับรอยปะ และจัดผ้าให้เรียบ
8. กลับเข็มหมุดยึดปากกระเป๋าให้ติดกับตัวเสื้อและเนาตามรอยเนวเย็บเดิม
9. เย็บตามรอยเนาหรือแนวเส้นเดิม ถ้าเป็นการเย็บด้วยมือ ควรด้นถอยหลังให้ระยะห่างเท่าฝีเข็มของจักรที่เป็นรอยเย็บเดิม
10. เลาะด้ายเนาและตัดด้ายให้เรียบร้อยและรีดให้เรียบ

(3)  สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำความสะอาดเสื้อผ้า  (เคล็ดลับ)  ตามหัวข้อต่อไปนี้ 
 -  การซักรีดเสื้อผ้า


การรีดผ้าโดยใช้เตารีด โดยทั่วไป มี ๒ วิธี คือ
1. การรีดทับ
ซึ่งเป็นวิธีการรีดโดยใช้เตารีดยกทับผ้าทีละส่วน วิธีการนี้จะทำให้ผ้าเรียบ เหมาะสำหรับผ้าที่พิถีพิถันและเสียรูปทรงได้ง่าย

2. การไถ
เป็นวิธีรีดผ้าโดยใช้มือไถไปมาส่วนบริเวณที่ต้องการรีด วิธีนี้จะทำให้รีดได้รวดเร็ว ถ้ารีดด้วยไฟแรงหรือรีดแรง ๆ พื้นผิวของผ้าอาจเสียหายหรือเกิดรอยตำหนิได้ หรือทำให้ผ้าเป็นมันเฉพาะส่วนที่เป็นรอยพับ เช่น ปลายแขน ชายกระโปรง เป็นต้น
 การรีดผ้าให้เรียบและมีอายุการใช้งานยาวนาน ควรยึดหลักการดังนี้
1. ในการรีดผ้า ควรรีดผ้าที่มีความชื้น จะทำให้ผ้าเรียบกว่าการรีดผ้าแห้ง เพราะความชื้นจะทำให้เส้นใยอ่อนตัว เมื่อถูกความร้อนจึงทำให้ผ้าเรียบ

2. เตรียมผ้าให้พร้อม เสื้อผ้าใดที่ต้องพรมน้ำก่อนการรีดให้พรมน้ำและม้วนไว้ เพื่อจะได้สะดวกในการรีด และไม่เสียเวลาขณะการรีดผ้า

3. เตรียมอุปกรณ์ในการรีดผ้าให้พร้อม เช่น ไม้แขวนสำหรับแขวนเสื้อที่รีดแล้ว ที่รองแขนเสื้อ กระบอกฉีดน้ำ สเปรย์เพิ่มความแข็งของผ้าเป็นต้น

4. เมื่อเสียบเตาไฟฟ้าใหม่ ๆ อุณหภูมิเตรีดยังไม่ร้อนมาก เราสามารถรีดผ้าบาง ๆ เช่น ผ้าเช็ดหน้า ก่อนได้

5. อย่าวางเตารีดที่มีความร้อนทิ้งไว้บนผ้ารองรีด หรือบนเสื้อที่กำลังรีด เพราะจะทำให้ผ้าเกิดรอยไหม้ได้

6. ก่อนการรีดผ้าควรปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับชนิดของผ้า เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าลินิน ซึ่งมีเนื้อหนาปานกลางให้รีดด้วยความร้อนปานกลาง หรือผ้าใยสังเคราะห์ควรรีดด้วยความร้อนต่ำ เป็นต้น

7. ในการรีดผ้าสีควรรีดด้านในเพื่อป้องกันสีซีดหรือเก่าเร็ว ผ้าชนิดใดที่รีดด้านในแล้วผ้านั้นเรียบถึงด้านนอกก็ควรรีดด้านในจะทำให้เนื้อผ้าไม่สึกหรอ สีผ้าไม่ซีดเร็ว ผ้าบางชนิดเมื่อรีดด้านนอกบ่อย ๆความร้อนจากเตารีดจะทำให้เกิดความมันเป็นแนวตามรอยตะเข็บ มองดูแล้วไม่สวยงาม

8. ก่อนการรีดผ้าขนสัตว์ ผ้าสักราด หรือเสื้อที่ทำด้วยไหมพรม ควรใช้ผ้าขาวปิดทับ เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าสาลู ถ้าใช้เตาไฟฟ้าแบบธรรมดาที่ไม่ใช้เตารีดไอน้ำ ให้ชุบผ้าขาวที่บิดหมาดปิดทับด้านบนแล้วใช้เตารีด
ที่มีควมร้อนรีดโดยวิธีกดทับ ถ้ารีดโดยวิธีไถไปมาจะทำให้ผ้าเสียรูปทรง แต่ถ้าเป็นเตารีดไอน้ำให้ใช้ผ้าขาวปิดทับโดยไม่ต้องชุบน้ำ และเมื่อจะรีดให้พ่นไอน้ำผ่านน้ำจะทำให้ผ้าเรียบโดยไม่ต้องชุบน้ำ

9. เมื่อรีดผ้า ควรรีดส่วนประกอบทีละส่วนตามลำดับ

-  การทำความสะอาดรอยเปื้อนบนผ้า
1. คราบหมากฝรั่ง ใช้เพียงตู้เย็นเท่านั้น ให้เอาผ้าที่ติดหมากฝรั่งไปแช่ช่องแข็งไว้ เพื่อให้หมากฝรั่งแข็งตัวแล้วค่อยดึงออก เท่านี้คราบหมากฝรั่งก็จะจากไป
2. คราบเลือด เป็นคราบที่ซักยากมาก ฉะนั้นหากผ้าของเราเปื้อนเลือดขึ้นมาให้รีบแช่น้ำในทันทีจะช่วยให้ซักออกง่าย แต่ถ้าผ้านั้นถูกทิ้งไว้นานจนคราบเลือดแห้งติดผ้าและแทรกซึมไปตามเส้นใยของผ้าแล้วจะซักยากมาก ให้แช่ผ้าในน้ำที่ผสมเกลือ ใช้อัตราส่วนน้ำ 5 ลิตร ต่อเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ แช่ทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงแล้วค่อยนำไปซักในน้ำยาซักผ้า ผงซักฟอกหรือสบู่ก็ได้ จนคราบเลือดหลุดหมด
3. คราบน้ำหอม สำหรับหนุ่ม ๆ สาว ๆ น้ำหอมมีมนต์เสน่ห์ติดตรึงใจ แต่ถ้าน้ำหอมเปื้อนเสื้อผ้าของเราแล้ว ให้รีบนำผ้าที่เปื้อนไปล้างออกด้วยน้ำเย็น ถ้ายังไม่ออกให้ใช้สำลีชุบน้ำมันสนเช็ดบริเวณที่เปื้อนแล้วนำมาซักใหม่อีกครั้ง
4. คราบช็อคโกแลต/กาแฟ ใช้กลีเซอรีน ( หาซื้อได้ตามร้ายขายยา )ทาทิ้งไว้บริเวณที่เปื้อน หลังจากนั้นจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำอุ่นกึ่งร้อนอีกครั้ง เพื่อละลายไขมัน คราบเปื้อนก็จะจางหายไป
5. คราบสนิม นำผ้ามาชุบน้ำให้เปียกก่อน หยดน้ำมะนาวตรงรอยเปื้อนสนิม แล้วนำมาซักด้วยวิธีธรรมดา

(4)  กิจกรรมบันทึกแนวคิดหน่วยที่  3  หัวข้อ:  นักเรียนจะนำความรู้เรื่องการทำความสะอาดเสื้อผ้าไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ?


     การศึกษาเรื่องการทำความสะอาดเสื้อผ้านั้น มีประโยชน์มากต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา ซึ่งเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชัวิตประจำวันได้หลายอย่าง เช่น การซักเสื้อผ้า ซึ่งเราก็ทำอยู่แล้ว และจากการศึกษาทำให้เราได้รู้ว่าเราต้องทำยังไงบ้างให้ถูกขั้นตอน แล้วผ้าที่เราซักก็จะสะอาด หรือจะเป็นการรีดเสื้อ เราก็สามารถทำได้เอง และการทำความสะอาดเสื้อผ้ารูปแบบอื่นๆ ซึ่งบางอย่างเราไม่รู้ ก็ได้ศึกษาและนำมาปฎิบัติตามคำแนะนำนั้นได้

 5)  ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้หน่วยที่  3  ผ้าและเครื่องแต่งกาย

 1. ผู้ที่จะแต่งกายได้งามนั้นมีอะไรที่เป็นพื้นฐานของการแต่งกาย  จงอธิบาย

 

   จะต้องมีรูปร่างที่สมส่วน ใส่เสื้อผ้าแล้วเหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงบุคลิกภาพของตนและต้องใส่ให้ถูกกาลเทศะด้วย

2.  หลักที่ควรยึดถือในการแต่งกายมีอะไรบ้าง  เขียนมาเป็นข้อ ๆ

- ลักษณะรูปร่างที่เด่น
- ควรรู้ข้อบกพร่องหรือส่วนที่ไม่สมส่วนในรูปทรงของเรา เพื่อที่จะได้แก้ไขโดยกลบหรือพรางส่วนนั้นเสีย
- ควรรู้ว่าตนเองมีบุคลิกลักษณะยังไง
- ควรรู้ว่าเสื้อผ้าสีอะไร ใช้อย่างไร จึงจะช่วยเสริมผิวพรรณและรูปร่างของผู้สวมใส่ให้งามขึ้น
- ควรสวมใส่เสื้อผ้าด้วยความประณีต
- ควรพิถีพิถันและประณีตให้มาก
- ควรรักษา ซ่อมแซมเสื้อผ้าให้ประณีตและสะอาดอยู่เสมอ
- ควรเลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมแก่กาลเทศะ
- การแต่งกายที่ยึดหลักประหยัด ควรมีเสื้อผ้าน้อยชุด แต่สามารถใช้ได้หลายงาน
- ควรหัดใช้เครื่องประดับตกแต่งประกอบ

3.  เปรียบเทียบศิลปะการแต่งกายที่เหมาะสมของบุคคลต่อไปนี้


•     คนอ้วนและคนผอม : คนอ้วนควรใส่เสื้อผ้าที่สีโทนมืดเพราะจะได้ปิดบังรูปร่างของตน คนผอมใส่เสื้อผ้าสีโทนสว่างเพื่อให้เราดูตัวใหญ่ขึ้น

•     คนผิวขาวและคนผิวคล้ำ : คนผิวขาวใส่เสื้อผ้าสีสดใส คนผิวเข้มไม่ควรใส่เสื้อผ้าสีสด


•     คนรูปร่างเล็กและคนรูปร่างใหญ่ : คนรูปร่างใหญ่ใ่เสื้อผ้าลายทางยาว คนรูปร่างเล็กใส่เสื้อผ้าลายทางขวาง


4.  บรรยายรูปร่างลักษณะของนักเรียน  และอธิบายว่าถ้าจะใช้ผ้าเป็นริ้วเป็นลาย  จะใช้ริ้วลายแบบไหน

    ควรใช้ลายทางยาวหรือขวาง เพราะจะทำให้ตัวเองดูสูงขึ้น และใส่เสื้อที่ตัวใหญ่กว่าตัวเองนิดหน่อย เพราะสามารถบดบังความผอมของตัวเองได้ด้วย


5.  เครื่องเกาะเกี่ยวที่ใช้ในการตัดเย็บมีอะไรบ้าง  เสื้อผ้าที่นักเรียนใส่ส่วนใหญ่ต้องซ่อมแซมอะไรบ้าง

    เข็ม ด้าย กรรไกร เข็มกลัด ในการซ่อมแซมส่วนใหญ่จะซ่อมกระดุมที่หลุดออกมาจากเสื้อ


6.  อธิบายการติดกระดุมและติดตะขอมาให้เข้าใจ

กระดุมมีก้าน การติดกระดุมชนิดนี้ จะไม่มีเส้นด้ายเย็บปรากฏบนเม็ดกระดุม วิธีติดกระดุมมีก้านนิยมใช้
เศษผ้ารองใต้ผ้า ให้ตรงตำแหน่ง ก้านต้องทำเครื่องหมาย ดึงด้ายเย็บจนตึง เพราะจะทำให้เสื้อย่น  

มีขั้นตอนการติดดังนี้
1.วางกระดุมลงบนผ้าในตำแหน่งที่จะติดกระดุม สอดเข็มหมุดที่ห่วงก้านกระดุมเพื่อยึดไว้ชั่วคราว
2. แทงเข็มขึ้นด้านบนสอดเข้าไปในห่วงกระดุม แทงเข็มลงให้ทะลุผ้าด้านล่างดึงด้ายให้ตึงเอาเข็มหมุดออก
3.ทำแบบข้อ 2 ซ้ำประมาณ 3 – 4 ครั้ง พันก้านกระดุมด้วยด้าย 3 รอบ แทงเข็มลงใต้ชิ้นผ้าผูกปมให้แน่น ตัดด้ายออก

กระดุมไม่มีก้าน คือกระดุมที่มีรู 2 รู หรือ 4 รู ปรากฏให้เห็นบนเม็ดกระดุมการเย็บกระดุมชนิดนี้ จะ
มองเห็นเส้นด้ายที่เย็บ วิธีการเย็บกระดุมไม่มีก้านถ้าเป็นกระดุม 2 รู ให้ขมวดปลายหนึ่งของด้ายเย็บให้เป็น
ปม ทำเช่นเดียวกับเย็บกระดุม 2 รู หรืออาจแทงเข็ม ให้เส้นด้ายด้านบนทแยงไขว้กันก็ได้

มีขั้นตอนการทำดังนี้   1.กาเครื่องหมายตรงตำแหน่งที่ต้องการจะติดกระดุม
2.ใช้ด้าย 2 ทบ ร้อยเข็ม เพื่อให้กระดุมแน่นหนาไม่หลุดลุ่ยง่าย ขมวดปลายด้ายทำปม ใช้เข็มแทงขึ้น ตรงบริเวณที่ทำเครื่องหมายไว้ถึงด้ายให้แน่น
3.วางกระดุมลงตรงกลางแล้วสอดเข็มลอดรูกระดุม รั้งด้ายให้ตึง แทงขึ้นลงตามรูกระดุม กลับไป กลับมาหลายครั้งจนกระดุมแน่น
4.สอดด้ายใต้กระดุมซ่อนปมอีกครั้งแล้วตัดด้ายออก

กระดุมแป๊บ ทำด้วยโลหะผสม มีลักษณะต่างไปจากกระดุมธรรมดาคือประกอบด้วยฝาบน ซึ่งมีปุ่ม
นูนตรงกลาง และตัวรับซึ่งตรงกลางเป็นแอ่ง ต้องใช้คู่กันเสมอทำให้ประกบกันสนิท การติดกระดุมแป๊บ ถ้า
เป็นผ้าบางควรจะมีผ้าชิ้นเล็ก ๆ รองข้างในตรงตำแหน่งที่เย็บกระดุมเพื่อความคงทน ส่วนใหญ่ใช้กับ เสื้อสตรีสำหรับยึดสาบเสื้อ หรือขอบแขนให้ติดกัน มีขั้นตอนการติดดังนี้
1. วางกระดุมลงในตำแหน่งที่ต้องการ แป๊บตัวผู้วางบนสาบเสื้อชิ้นบน แป๊บตัวเมียวางบนสาบเสื้อชิ้นล่าง สนด้ายใส่เข็มขมวดปลายด้ายให้เป็นสองทบ
 2.แทงเข็มสอดขึ้นลงในรูกระดุมทีละรู รูละ 3 ครั้ง เมื่อจะเย็บรูต่อไปให้แทงเข็ม โดยซ่อนด้ายไว้ใต้ผ้า แล้วดึงเข็มขึ้น เมื่อเย็บครบ 4 รู้จึงผูกปมด้าย ทั้งแป๊บตัวผู้และตัวเมียมีวิธีการเย็บเหมือนกัน


7.  อธิบายการปะเพื่อการตกแต่ง

      การนำวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งมาเย็บลงไปโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เสื้อผ้าดูดีขึ้น และสามารถปกปิดรอยขาดหรือรอยเปื้อนที่ไม่สามารถซักออกได้ด้วย

8.  ถ้ากางเกงที่ใส่ขาดที่หัวเข่าจะแก้ไขดัดแปลงอย่างไรให้ใช้งานได้

นำผ้าที่มีลายหรือสีคล้ายๆกันมาปะตรงรอยขาดให้ดูสวยงาม


9.  ถ้านักเรียนดัดแปลงเสื้อผ้าที่ไม่ใช้เป็นผ้ากันเปื้อน  นักเรียนจะใช้ลวดลายและตะเข็บอะไรตกแต่งและมีวิธีทำอย่างไร

      ลวดลายที่ไม่ซ้ำใครเช่น ปักชื่อตัวเองลงไป หรือหาตุ๊กตาน่ารักๆมาเย็บตะเข็บกลับด้าน หันผ้ามาข้างนอกให้ดูแปลกตา
วิธีทำ : ก็นำผ้ามาตัดแปะให้เป็นชื่อตัวเอง แล้วเย็บตะเข็บเข้าไปที่ขอบผ้า


10.  อธิบายขั้นตอนการซักรีดเสื้อผ้า

- นำสิ่งของออกจากกระเป๋าให้หมด
- ถ้าพบว่าเสื้อผ้าชำรุด ควรซ่อมให้เรียบร้อยก่อนซัก
- แยกผ้าสีและผ้าขาวออกเป็นพวกๆ
- ซักด้วยน้ำเปล่าก่อน 1 ครั้ง
- ใส่ผงซักฟอกลงในอ่างหรือกะละมังประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วจึงใส่น้ำประมาณ 1 ขันใหญ่ต่อเสื้อ 1ตัว คนให้ผงซักฟอกละลายและกระจายไปทั่ว แล้วนำเสื้อลงแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ขณะเดียวกัน
ควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับตากผ้าไว้ให้เรียบร้อยจะทำงานให้เสร็จเร็วขึ้น
- ขยี้หรือใช้แปรงๆที่คอเสื้อ แขนเสื้อ กระเป๋าและซักทั้งตัวให้สะอาด บีบน้ำออก แต่ไม่ควรบิดเพราะจะทำให้ผ้าขาดเร็วขึ้น
- ซักในน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง ให้หมดคราบผงซักฟอก
- นำขึ้นตากโดยกลับตะเข็บเสียก่อน แล้วใส่ไม้แขวนเสื้อ ถ้าเป็นเสื้อสี ให้แขวนไว้ในที่ร่มและลมพัดผ่านได้ดี
- ถ้าซักด้วยเครื่องครั้งหนึ่ง จะใช้น้ำประมาณ 150-250 ลิตร
- น้ำสุดท้ายของการซักสามารถนำไปเช็ดถูบ้าน หรือรดน้ำต้นไม้ใหญ่ได้



คำสำคัญ (keywords): ผ้า
สร้าง: 12 กรกฎาคม 2553 22:05 · แก้ไข: 12 กรกฎาคม 2553 22:48
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 2 · อ่าน: 3613 · สร้าง: ประมาณ 3 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น